1. ข้อกำหนดสำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย ฉบับที่ 24 ว่าด้วยการขอและการเทียบโอนใบอนุญาตผู้ประจำหน้าที่ซึ่งออกให้โดยรัฐภาคแห่งอนุสัญญา หรือประเทศที่ได้ทำความตกลงกับประเทศไทย และ
2. ข้อกำหนดสำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย ฉบับที่ 30 ว่าด้วยการขอและการเทียบโอนใบอนุญาตผู้ประจำหน้าที่ซึ่งออกให้โดยรัฐภาคแห่งอนุสัญญา หรือประเทศที่ได้ทำความตกลงกับประเทศไทย และ
3. ระเบียบสำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย ว่าด้วยการทดสอบความรู้ภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติด้านการเดินอากาศ พ.ศ.2562 และ
4. ข้อกำหนดสำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย ฉบับที่ 15 ว่าด้วยการขอและการออกใบอนุญาตผู้ประจำหน้าที่และการบันทึกศักยในใบอนุญาตผู้ประจำหน้าที่
ขั้นที่ 1 การทดสอบภาคทฤษฎี
1.1 การยื่นคำร้องเพื่อเข้ารับการทดสอบภาคทฤษฎี
ผู้ยื่นขอฯ สามารถยื่นคำร้อง พร้อมเอกสารหลักฐาน และชำระค่าใช้จ่ายในการทดสอบภาคทฤษฎีได้ ในวัน และเวลาการรับสมัครสอบตามประกาศฝ่ายมาตรฐานผู้ประจำหน้าที่ เรื่อง กำหนดการสอบความรู้ภาคทฤษฎีใบอนุญาตผู้ประจำหน้าที่ประจำปี ที่ https://www.caat.or.th/th/archives/category/license-certification-th/license-personnel-th ซึ่งจะมีกำหนดการเปิดรับสมัครสอบ 4 ครั้ง / ปี (ไม่รวมการทดสอบกรณีพิเศษ) ณ เคาน์เตอร์บริการ สำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย (กพท.) โดยผู้ยื่นขอฯ จะต้องกรอกคำร้อง และจัดเตรียมเอกสารหลักฐานประกอบการพิจารณาตามรายการคำร้องให้ครบถ้วนสมบูรณ์ และ กพท. จะไม่คืนค่าใช้จ่ายในการทดสอบภาคทฤษฎีทุกกรณี สำหรับกรณีผู้ยื่นขอฯ สอบไม่ผ่านภาคทฤษฎีครบทุกรายวิชาในการเข้ารับการทดสอบครั้งแรก จะสามารถใช้เอกสารชุดนี้ เพื่อเข้าสอบได้ 6 ครั้งติดต่อกัน แต่จะต้องชำระค่าใช้จ่ายในการทดสอบภาคทฤษฎีทุกครั้งที่เข้าสอบ อนึ่งผู้ยื่นขอฯ จะต้องเก็บหลักฐานใบเสร็จชำระเงินค่าใช้จ่ายในการทดสอบภาคทฤษฎีทุกครั้งเพื่อแสดงต่อเจ้าหน้าที่ในวันเข้ารับการทดสอบ
โดยผู้ยื่นขอฯ สามารถ Download แบบฟอร์มคำร้องขอสอบภาคทฤษฎีและขอเทียบโอนใบอนุญาตฯ ตามประเภทใบอนุญาตผู้ประจำหน้าที่ ได้ที่ https://www.caat.or.th/th/archives/3506 หรือ ณ เคาน์เตอร์บริการ กพท. โดยจะต้องมีคุณสมบัติครบถ้วนตามประเภทใบอนุญาตฯ ดังนี้
1.1.1 ใบอนุญาตนักบินส่วนบุคคล
1.1.1.1 นักบินส่วนบุคคลเครื่องบิน ต้องมีความชํานาญในการบิน (as a pilot) กับเครื่องบินมาแล้วไม่น้อยกว่า 60 ชั่วโมงบิน ทั้งนี้ ใหนําชั่วโมงบินภายใต้การควบคุมของครูการบินกับ เครื่องช่วยฝึกบินมาใช้คํานวณเป็นชั่วโมงบินในจำนวน 60 ชั่วโมงบิน ได้ไม่เกิน 5 ชั่วโมงบิน โดยต้องทำการบินเดี่ยว ไม่น้อยกว่า 10 ชั่วโมงบิน ภายใต้การควบคุมของครูการบิน ซึ่งจะต้องประกอบด้วยการบินเดินทางเดี่ยวไม่น้อยกว่า 5 ชั่วโมง โดยในการบินเดินทางเดี่ยวอย่างน้อยหนึ่งครั้งต้องมีระยะทางไม่น้อยกว่า 270 กิโลเมตร (150 NM) และต้องจบการบินลง (Full – stop landing) ที่สนามบินต่างกันอย่างน้อยสองแห่ง
1.1.1.2 นักบินส่วนบุคคลเฮลิคอปเตอร์ ต้องมีความชํานาญในการบินกับเฮลิคอปเตอร์มาแล้วไม่น้อยกว่า 60 ชั่วโมงบิน โดยต้องทําการบินเดี่ยวไม่น้อยกว่า 10 ชั่วโมงบิน ภายใตการควบคุมของครูการบิน ทั้งนี้ ให้นําชั่วโมงบินภายใต้การควบคุมของครูการบินกับเครื่องช่วยฝึกบินมาใช้ คํานวณเป็นชั่วโมงบินในจํานวน 60 ชั่วโมงบิน ได้ไม่เกิน 5 ชั่วโมงบิน ซึ่งจะต้องประกอบด้วยการบินเดินทางเดี่ยว ไม่น้อยกว่า 5 ชั่วโมง โดยในการบินเดินทางเดี่ยวอย่างน้อยหนึ่งครั้งต้องมีระยะทางไม่น้อยกว่า 180 กิโลเมตร (100 NM) และต้องจบการบินลง (Full – stop landing) ที่สนามบินต่างกันอย่างน้อยสองแห่ง
1.1.2 ใบอนุญาตนักบินพาณิชย์ตรี
1.1.2.1 นักบินพาณิชย์ตรีเครื่องบิน ต้องทําการบินในฐานะนักบิน (as a pilot) กับเครื่องบินมาแล้วไม่น้อยกว่า 200 ชั่วโมงบิน ทั้งนี้ ใหนําชั่วโมงบินภายใต้การควบคุมของครูการบิน กับ เครื่องช่วยฝึกบินมาใช้คํานวณเป็นชั่วโมงบินในจํานวน 20 ชั่วโมงบิน ได้ไม่เกิน 10 ชั่วโมงบิน โดยผู้ขอเทียบโอนจะต้อง
(1) ทำการบินในฐานะนักบินผู้ควบคุมอากาศยานไม่น้อยกว่า 100 ชั่วโมง
(2) ทำการบินเดินทางในฐานะนักบินผู้ควบคุมอากาศยานไม่น้อยกว่า 20 ชั่วโมง ซึ่งในการบินเดินทางอย่างน้อยหนึ่งครั้งต้องมีระยะทางไม่น้อยว่า 540 กิโลเมตร (300 NM) และต้องจบการบินลง (full-stop landing) ที่สนามบินต่างกันอย่างน้อยสองแห่ง
(3) ทำการบินด้วยเครื่องวัดประกอบการบิน ไม่น้อยกว่า 10 ชั่วโมง โดยให้นำการฝึกบินด้วยเครื่องช่วยฝึกบิน มารวมคำนวณได้ไม่เกิน 5 ชั่วโมง และ
(4) ทำการบินกลางคืนในฐานะนักบินผู้ควบคุมอากาศยาน 5 ชั่วโมง โดยต้องทำการบินขึ้นไม่น้อยกว่า 5 ครั้ง และทำการบินลงไม่น้อยกว่า 5 ครั้ง
1.1.2.2 นักบินพาณิชย์ตรีเฮลิคอปเตอร์ ต้องมีความชำนาญในการทำการบินในฐานะนักบิน (as a pilot) กับเฮลิคอปเตอร์มาแล้ว ไม่น้อยกว่า 150 ชั่วโมงบิน ทั้งนี้ ให้นำชั่วโมงบินภายใต้การควบคุมของครูการบินกับเครื่องช่วยฝึกบินได้ไม่เกิน 10 ชั่วโมงบิน โดยผู้ขอเทียบโอนจะต้อง
(1) ทำการบินในฐานะนักบินผู้ควบคุมอากาศยานไม่น้อยกว่า 35 ชั่วโมงบิน
(2) ทำการบินเดินทางในฐานะนักบินผู้ควบคุมอากาศยานไม่น้อยกว่า 10 ชั่วโมง และต้องจบการบินลง (Full-Stop Landing) ที่สนามบินต่างกันอย่างน้อยสองแห่ง
(3) ทำการบินด้วยเครื่องวัดประกอบการบิน ไม่น้อยกว่า 10 ชั่วโมง โดยให้นำการฝึกบินด้วยเครื่องวัดประกอบการบินภาคพื้นมารวมคำนวณได้ไม่เกิน 5 ชั่วโมง
(4) ทำการบินเวลากลางคืนในฐานะนักบินผู้ควบคุมอากาศยาน 5 ชั่วโมง โดยต้องทำการบินขึ้นไม่น้อยกว่า 5 ครั้ง และทำการบินลงไม่น้อยกว่า 5 ครั้ง
1.1.3 ใบอนุญาตนักบินพาณิชย์เอก
1.1.3.1 นักบินพาณิชย์เอกเครื่องบิน ต้องมีความชำนาญในการบินในฐานะนักบิน (As a pilot) กับเครื่องบินมาแล้วไม่น้อยกว่า 1,500 ชั่วโมง ทั้งนี้ ให้นำชั่วโมงบินภายใต้การควบคุมของครูการบินกับเครื่องบินจำลองมาใช้คำนวณเป็นชั่วโมงบินในจำนวน 1,500 ชั่วโมง ได้ไม่เกิน 100 ชั่วโมง แต่จะนำชั่วโมงบินที่ได้จากเครื่องช่วยฝึกบินประเภทเครื่องช่วยฝึกวิธีการบิน (Flight Procedures Trainer) หรือเครื่องช่วยฝึกบินด้วยเครื่องวัดประกอบการบินขั้นพื้นฐาน (Basic Instrument Flight Trainer) มาคำนวณได้ไม่เกิน 25 ชั่วโมงบิน โดยผู้ขอเทียบโอนจะต้องทำการบินกับเครื่องบิน ดังต่อไปนี้
(1) ทำการบินไม่น้อยกว่า 500 ชั่วโมง โดยเป็นการทำการบินในฐานะนักบินผู้ควบคุมอากาศยานภายใต้การอำนวยการทั้งหมด หรือเป็นการทำการบินไม่น้อยกว่า 250 ชั่วโมง โดยเป็นการทำการบินในฐานะนักบินผู้ควบคุมอากาศยานไม่น้อยกว่า 70 ชั่วโมง และชั่วโมงบินเพิ่มเติมในฐานะนักบินผู้ควบคุมอากาศยานภายใต้การอำนวยการก็ได้
(2) ทำการบินเดินทางไม่น้อยกว่า 200 ชั่วโมง อย่างน้อย 100 ชั่วโมง ในฐานะนักบินผู้ควบคุมอากาศยาน หรือในฐานะนักบินผู้ควบคุมอากาศยานภายใต้การอำนวยการ
(3) ทำการบินด้วยเครื่องวัดไม่น้อยกว่า 75 ชั่วโมง แต่จะใช้ชั่วโมงบินภาคพื้น ด้วยเครื่องวัดมารวมคำนวณได้ไม่เกิน 30 ชั่วโมงบิน และ
(4) ทำการบินในเวลากลางคืนไม่น้อยกว่า 100 ชั่วโมง ในฐานะนักบินผู้ควบคุมอากาศยาน หรือในฐานะนักบินผู้ช่วย
1.1.3.2 นักบินพาณิชย์เอกเฮลิคอปเตอร์ ต้องมีความชํานาญในการบินกับเฮลิคอปเตอร์มาแล้วไม่น้อยกว่า 1,000 ชั่วโมง โดยผู้ขอเทียบโอนจะต้องทำการบินกับเฮลิคอปเตอร์ ทั้งนี้ให้นําชั่วโมงบินภายใต้การควบคุมของครูการบินกับเครื่องบินจําลองมาใช้คํานวณเป็นชั่วโมงบินในจํานวน 1,000 ชั่วโมง ได้ไม่เกิน 100 ชั่วโมง แต่จะนําชั่วโมงบินที่ได้จากเครื่องฝึกบินจําลองประเภทเสมือนจริงหรือประเภทการบินด้วยเครื่องวัดประกอบการบินมารวมคํานวณได้ไม่เกิน 25 ชั่วโมง โดยผู้ขอเทียบโอนจะต้องทำการบินกับเฮลิคอปเตอร์ ดังต่อไปนี้
(1) ทําการบินไม่น้อยกว่า 250 ชั่วโมง โดยเป็นการทําการบินในฐานะนักบินผู้ควบคุมอากาศยานทั้งหมด หรือเป็นการทําการบินไม่น้อยกว่า 70 ชั่วโมง ในฐานะนักบินผู้ควบคุมอากาศยานและชั่วโมงบินเพิ่มเติมในฐานะนักบินควบคุมอากาศยานภายใต้การอํานวยการก็ได้
(2) ทําการบินเดินทางไม่น้อยกว่า 200 ชั่วโมง ซึ่งอย่างน้อย 150 ชั่วโมง ในฐานะนักบินผู้ควบคุมอากาศยานหรือในฐานะนักบินผู้ควบคุมอากาศยานภายใต้การอํานวยการ
(3) ทําการบินด้วยเครื่องวัดไม่น้อยกว่า 30 ชั่วโมง แต่จะใช้ชั่วโมงบินภาคพื้นด้วยเครื่องวัดมารวมคํานวณได้ไม่เกิน 10 ชั่วโมง และ
(4) ทําการบินในเวลากลางคืนไม่น้อยกว่า 50 ชั่วโมงบิน ในฐานะนักบินผู้ควบคุมอากาศยาน หรือในฐานะนักบินผู้ช่วย
1.1.4 ใบอนุญาตนายช่างภาคพื้นดิน
ต้องมีชั่วโมงการทำงานตามศักยทำการอากาศยานเฉพาะแบบ (Type Rating) กับอากาศยานที่จดทะเบียนในรัฐภาคีแห่งอนุสัญญาหรือประเทศที่ได้ทำความตกลงกับประเทศไทย ที่บันทึกในสมุดบันทึกปฏิบัติการบำรุงรักษาอากาศยาน (Maintenance Log Book) ไม่น้อยกว่า 6 เดือน หรือ 180 งาน (180 Tasks) ภายในระยะเวลา 24 เดือน
1.1.5 ศักยการบินตามชั้นและอากาศยานเฉพาะแบบ (Class and Type Rating)
ผูขอเทียบโอนจะตองมีศักยการบินตามชั้นและอากาศยานเฉพาะแบบที่บันทึกในใบอนุญาตผูประจํา หนาที่ที่ออกโดยรัฐภาคีแหงอนุสัญญาหรือประเทศที่ไดทําความตกลงกับประเทศไทยที่จะนํามาเทียบโอน ดังนี้
1.1.5.1 เครื่องบิน
1.1.5.1.1 ศักยตามชั้น (Class Rating) จะตองมีชั่วโมงปฏิบัติการบินตามชั้นของเครื่องบินที่ขอเทียบโอน ทั้งศักยเครื่องบินเครื่องยนตเดียว (Single-engine) และศักยเครื่องบินหลายเครื่องยนต (Multi-engine) อยางละไมนอยกวา 100 ชั่วโมง ในกรณีที่ผู้ยื่นขอมีชั่วโมงปฏิบัติการบินไม่ถึง 100 ชั่วโมง จะต้องผ่านการฝึกอบรมหลักสูตรศักยเครื่องบินเครื่องยนต์เดียว (Single-engine) หรือศักยเครื่องบินหลายเครื่องยนต์ (Multi-engine) ที่ กพท. รับรอง โดยมีหลักเกณฑ์ ดังนี้
1. 70 – 100 ชั่วโมง จะต้องผ่านการฝึกอบรมภาคทฤษฎีและผ่านการฝึกอบรมภาคปฏิบัติ โดยทำการบินกับเครื่องบินตามชั้นของเครื่องบินที่ขอเทียบโอนไม่น้อยกว่า 1 ชั่วโมง
2. 40 – 70 ชั่วโมง จะต้องผ่านการฝึกอบรมภาคทฤษฎีและผ่านการฝึกอบรมภาคปฏิบัติ โดยทำการบินกับเครื่องบินตามชั้นของเครื่องบินที่ขอเทียบโอนไม่น้อยกว่า 2 ชั่วโมง
3. น้อยกว่า 40 ชั่วโมง จะต้องผ่านการฝึกอบรมภาคทฤษฎีและผ่านการฝึกอบรมภาคปฏิบัติ โดยทำการบินกับเครื่องบินตามชั้นของเครื่องบินที่ขอเทียบโอนไม่น้อยกว่า 3 ชั่วโมง
1.1.5.1.2 ศักยทำการอากาศยานเฉพาะแบบ (Type Rating) จะต้องมีชั่วโมงปฏิบัติการบินตามแบบของเครื่องบินที่ขอเทียบโอนไมนอยกวา 500 ชั่วโมง
1.1.5.2 เฮลิคอปเตอร์
1.1.5.1.2 ศักยทำการอากาศยานเฉพาะแบบ (Type Rating) ของเฮลิคอปเตอร์เครื่องยนต์เดียว (Single-engine Helicopters Rating) ที่มีมวลสูงสุดเมื่อวิ่งขึ้นตามที่ได้รับการรับรองไม่เกิน 3175 กิโลกรัม จะต้องมีชั่วโมงปฏิบัติการบินตามแบบเฮลิคอปเตอร์ที่ขอเทียบโอนไม่น้อย กว่า 100 ชั่วโมง หรือ
1.1.5.1.3 ศักยทำการอากาศยานเฉพาะแบบ (Type Rating) ของเฮลิคอปเตอร์นอกจากที่กําหนดไว้ใน 1.1.5.1.2 จะต้องมีชั่วโมงปฏิบัติการบินตามแบบเฮลิคอปเตอร์ที่ขอเทียบโอนไม่น้อยกว่า 350 ชั่วโมง
1.1.6 ศักยการบินด้วยเครื่องวัดประกอบการบิน (Instrument Rating)
จะต้องมีศักยการบินด้วยเครื่องวัดประกอบการบินที่บันทึกในใบอนุญาตผู้ประจําหน้าที่ที่ออกโดยรัฐภาคีแห่งอนุสัญญาหรือประเทศที่ได้ทําความตกลงกับประเทศไทยที่จะนํามาเทียบโอน โดยผู้ขอเทียบโอนจะต้องทําการบินด้วยเครื่องวัดประกอบการบิน กับเครื่องบินหรือเฮลิคอปเตอร์ ดังนี้
(1) ทําการบินเดินทางไม่น้อยกว่า 50 ชั่วโมงบิน ในฐานะผู้ควบคุมอากาศยานในประเภทอากาศยานที่ขอเทียบโอน
(2) มีเวลาบินด้วยเครื่องวัดประกอบการบินกับอากาศยานไม่น้อยกว่า 40 ชั่วโมงบิน โดยจะนําเวลาบินภาคพื้นด้วยเครื่องวัดประกอบการบิน (instrument ground time) ภายใต้การอํานวยการของครูการบินมาคํานวณได้ไม่เกิน 20 ชั่วโมงบิน หรือจะนําเวลาบินกับเครื่องช่วยฝกบินมาคํานวณได้ไม่เกิน 30 ชั่วโมงบิน
1.2 การประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิเข้าสอบ
ฝ่ายมาตรฐานผู้ประจำหน้าที่ จะประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิเข้ารับการทดสอบความรู้ภาคทฤษฎีก่อนวันสอบล่วงหน้า ไม่น้อยกว่า 5 วัน ยกเว้นการทดสอบกรณีพิเศษ ซึ่งผู้ยื่นขอฯ สามารถตรวจสอบรายชื่อผู้มีสิทธิสอบได้ที่ https://www.caat.or.th/th/archives/category/license-certification-th/license-personnel-th
1.3 การประกาศผลสอบภาคทฤษฏี
ฝ่ายมาตรฐานผู้ประจำหน้าที่ จะประกาศผลการทดสอบความรู้ภาคทฤษฎีฯ โดยผู้ที่ได้คะแนนร้อยละ 75 ขึ้นไป ของทุกรายวิชา จึงจะถือว่าผ่านการทดสอบความรู้ภาคทฤษฎี ซึ่งผู้ยื่นขอฯ สามารถตรวจสอบผลการสอบความรู้ภาคทฤษฎี ได้ที่ https://www.caat.or.th/th/archives/category/license-certification-th/license-personnel-th ทั้งนี้การกำหนดระยะเวลาการประกาศผลสอบภาคทฤษฎี ยกเว้นการทดสอบกรณีพิเศษ และอายุผลทดสอบความรู้ภาคทฤษฎี ซึ่งจะนับจากวันประกาศผลการทดสอบจนถึงวันสุดท้ายของเดือน จำแนกตามประเภทใบอนุญาตฯ ดังนี้
ประเภทใบอนุญาตผู้ประจำหน้าที่ |
กำหนดการประกาศผลสอบ |
อายุผลสอบภาคทฤษฎี |
1. นักบินพาณิชย์เอก |
20 วัน นับจากวันสอบ |
60 เดือน |
2. นักบินพาณิชย์ตรี |
7 วัน นับจากวันสอบ |
36 เดือน |
3. นักบินส่วนบุคคล |
7 วัน นับจากวันสอบ |
24 เดือน |
4. นายช่างภาคพื้นดิน |
20 วัน นับจากวันสอบ |
36 เดือน |
อนึ่งผู้ยื่นขอฯ จะต้องเข้ารับการทดสอบภาคทฤษฎี และผ่านการทดสอบภาคทฤษฎีครบทุกรายวิชา ภายใน 6 ครั้ง ติดต่อกัน หรือภายใน 18 เดือน นับแต่วันที่เข้ารับการทดสอบครั้งแรก หรือ สอบวิชาเดียวกัน ภายใน 4 ครั้ง แล้วแต่กรณีใดจะถึงก่อน หากผู้ยื่นขอฯ ยังไม่ผ่านการทดสอบภาคทฤษฎีครบทุกวิชาภายในระยะเวลาที่กำหนด แต่ผู้ยื่นขอฯ ยังมีความประสงค์จะขอรับใบอนุญาตผู้ประจำหน้าที่ ผู้ยื่นขอฯ จะต้องยื่นคำร้อง พร้อมเอกสารหลักฐานตามคำร้อง และต้องเข้ารับการทดสอบภาคทฤษฎีใหม่ทุกวิชา ตามระเบียบสำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย ว่าด้วยการทดสอบความรู้ภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติด้านการเดินอากาศ พ.ศ.2562
ขั้นที่ 2 การทดสอบภาคปฏิบัติ
2.1 ผู้ยื่นขอฯ ที่ผ่านการทดสอบความรู้ภาคทฤษฎีแล้ว จะต้องยื่นคำร้องเข้ารับการการทดสอบความรู้ภาคปฏิบัติ พร้อมเอกสารหลักฐานตามแบบคำร้อง โดยผู้ยื่นขอฯ จะต้องเป็นผู้จัดหาสถานที่ อากาศยาน หรือเครื่องฝึกบินจำลอง หรือเครื่องฝึกปฏิบัติการควบคุมจราจรทางอากาศจำลองที่ได้รับการรับรองจากสำนักงาน รวมถึงอุปกรณ์ต่างๆ ซึ่งต้องใช้ในการทดสอบภาคปฏิบัติตามประเภทของใบอนุญาต หรือศักยทำการที่จะขอรับการบันทึกศักย ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการพิจารณาของสำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย
2.2 ฝ่ายมาตรฐานผู้ประจำหน้าที่จะจัดทำหนังสือมอบหมายให้ผู้ทดสอบภาคปฏิบัติของสำนักงาน หรือ ผู้ที่ได้รับการแต่งตั้งให้ทำหน้าที่ทดสอบภาคปฏิบัติ เพื่อทำหน้าที่ทดสอบภาคปฏิบัติให้ผู้ยื่นขอฯ ทั้งนี้ผู้ยื่นขอฯ จะต้องชำระค่าใช้จ่ายสำหรับการทดสอบภาคปฏิบัติ กรณีผู้ทดสอบภาคปฏิบัติเป็นผู้ทดสอบภาคปฏิบัติของสำนักงานฯ หรือ ผู้ที่ได้รับการแต่งตั้งให้ทำหน้าที่ทดสอบภาคปฏิบัติที่ไม่ใช่สังกัดของผู้ยื่นขอฯ สำหรับผลการทดสอบภาคปฏิบัติ ผู้ยื่นขอฯ จะทราบผลการทดสอบภาคปฏิบัติ ณ วันที่ทำการทดสอบภาคปฏิบัติ โดย
2.2.1 กรณีสอบภาคปฏิบัติผ่าน ผู้ทดสอบภาคปฏิบัติของสำนักงาน หรือ ผู้ที่ได้รับการแต่งตั้งให้ทำหน้าที่ทดสอบภาคปฏิบัติ หรือ หน่วยงานต้นสังกัดของผู้ยื่นคำขอฯ จะต้องจัดส่งผลการทดสอบภาคปฏิบัติให้ ฝ่ายมาตรฐานผู้ประจำหน้าที่ ภายใน 7 วัน นับจากวันที่ทำการทดสอบภาคปฏิบัติเสร็จสิ้น
2.2.2 กรณีสอบภาคปฏิบัติไม่ผ่าน ผู้ยื่นขอฯ จะต้องดำเนินการตามข้อ 2.1 โดยผู้ยื่นขอฯ จะสามารถเข้ารับการทดสอบใหม่ได้อีกไม่เกิน 2 ครั้ง ภายในอายุของผลการทดสอบภาคทฤษฎีสำหรับใบอนุญาตผู้ประจำหน้าที่แต่ละประเภท หากเข้ารับการทดสอบครบ 3 ครั้ง หรือครบอายุของผลการทดสอบภาคทฤษฎีฯ แล้วแต่กรณีใดถึงก่อน หากผู้ยื่นขอฯ ยังไม่ผ่านการทดสอบภาคปฏิบัติ ภายในระยะเวลาที่กำหนด แต่ผู้ยื่นขอฯ ยังมีความประสงค์จะขอรับใบอนุญาตผู้ประจำหน้าที่ ผู้ยื่นขอฯ จะต้องยื่นคำร้อง พร้อมเอกสารหลักฐานตามคำร้อง และต้องเข้ารับการทดสอบภาคทฤษฎีใหม่ทุกวิชา ตามระเบียบสำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย ว่าด้วยการทดสอบความรู้ภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติด้านการเดินอากาศ พ.ศ.2562
ขั้นที่ 3 การขอรับใบสำคัญแพทย์ (ถ้ามี)
ผู้ยื่นขอฯ จะสามารถติดต่อศูนย์เวชศาสตร์การบินพลเรือน (Aeromedical Center – AMC) เพื่อเข้ารับการตรวจสุขภาพสำหรับการขอรับใบสำคัญแพทย์ตามชั้น ของประเภทใบอนุญาต ได้ด้วยตนเอง ณ ศูนย์เวชศาสตร์การบินพลเรือน ที่สำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทยให้การแต่งตั้ง ได้แก่
1. สถาบันเวชศาสตร์การบิน กองทัพอากาศ
2. ศูนย์เวชศาสตร์การบินพลเรือนกรุงเทพ โรงพยาบาลกรุงเทพ
3. โรงพยาบาลสมิติเวช ศรีนครินทร์
หรือสามารถตรวจสอบรายละเอียดได้ที่ https://www.caat.or.th/th/archives/40536 อนึ่ง ผู้ยื่นขอฯ จะสามารถดำเนินการขอรับใบสำคัญแพทย์ได้หลังจากที่ผู้ยื่นขอฯ สอบผ่านการทดสอบภาคทฤษฎีครบทุกวิชาเรียบร้อย โดยผู้ยื่นขอฯ จะต้องยื่นใบสำคัญแพทย์ ตามชั้นของประเภทใบอนุญาต ที่มีผลบังคับใช้เพื่อประกอบการออกใบอนุญาต ซึ่งอายุของใบสำคัญแพทย์จะจำแนกตามชั้น โดยมีรายละอียดดังนี้
ประเภทใบอนุญาตผู้ประจำหน้าที่ |
ใบสำคัญแพทย์ |
|
ชั้น |
อายุ |
|
1. นักบินพาณิชย์เอก / นักบินพาณิชย์ตรี
|
1 |
6 เดือน (ผู้ยื่นขออายุครบ 40 ปี บริบูรณ์) 12 เดือน (ผู้ยื่นขออายุไม่เกิน 40 ปี) |
2. นักบินส่วนบุคคล
|
2 |
12 เดือน (ผู้ยื่นขออายุครบ 50 ปี บริบูรณ์) 24 เดือน (ผู้ยื่นขออายุไม่เกิน 50 ปี) |
ขั้นที่ 4 การออกใบอนุญาตผู้ประจำหน้าที่
4.1 ผู้ยื่นขอฯ นำใบสำคัญแพทย์ที่มีผลบังคับใช้ ตามชั้น ของประเภทใบอนุญาตฯ (ถ้ามี) มายื่น ณ เคาน์เตอร์บริการ สำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย
4.2 ฝ่ายมาตรฐานผู้ประจำหน้าที่จัดทำหนังสือเพื่อดำเนินการตรวจสอบใบอนุญาตผู้ประจำหน้าที่ซึ่งออกให้โดยรัฐภาคแห่งอนุสัญญา หรือประเทศที่ได้ทำความตกลงกับประเทศไทย (Letter of authentication) ผ่านทางไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ (E-Mail) โดยจะต้องมีผลการตรวจอบว่าใบอนุญาตฯ ของผู้ยื่นขอฯ เป็นไปตามาตรฐานที่กำหนดในภาคผนวก 1 แห่งอนุสัญญา และใบอนุญาต ศักยทำการ รวมทั้งข้อจำกัดในใบอนุญาตนั้นยังมีผลบังคับใช้ได้ ถ้าผู้ยื่นขอฯ เป็นบุคคลสัญชาติไทย ข้ามไปข้อ 4.5
4.3 กรณีผู้ยื่นขอฯ ไม่มีสัญชาติไทย จะต้องยื่นหนังสือรับรองการเปนพนักงานหรือลูกจางหรือสัญญาจาง จากผูไดรับใบรับรองผูดําเนินการเดินอากาศ ผูไดรับใบอนุญาตประกอบกิจการการบินพลเรือน หรือผูไดรับ ใบรับรองสถาบันฝกอบรมดานการบิน ซึ่งเปนหนวยงานตนสังกัด หรือหนังสือรับรองการเปนพนักงานหรือลูกจาง หรือสมาชิกหรือสัญญาจาง หรือหนังสือยินยอมหรืออนุญาตจากผูไดรับใบอนุญาตใหใชอากาศยานสวนบุคคลให ปฏิบัติการบินกับอากาศยานสวนบุคคลของตน แล้วแต่กรณี
4.4 ฝ่ายมาตรฐานผู้ประจำหน้าที่จัดทำหนังสือเพื่อตรวจสอบประวัติและพฤติกรรมกับหน่วยงานความมั่นคงของประเทศ ได้แก่ สำนักข่าวกรองแห่งชาติ สำนักงานตรวจคนเข้าเมือง และสำนักงานปราบปรามยาเสพติด โดยต้องปรากฏว่าผู้ยื่นขอฯ ไม่มีประวัติและพฤติกรรมอันเป็นภัยต่อความมั่นคงของประเทศ
4.5 ฝ่ายมาตรฐานผู้ประจำหน้าที่จะแจ้งผู้ยื่นขอฯ ให้มาติดต่อขอชำระค่าธรรมเนียมสำหรับการออกใบอนุญาต พร้อมทั้งยื่นเอกสารเพิ่มเติมสำหรับการออกใบอนุญาตผู้ประจำหน้าที่ (ถ้ามี) โดยผู้ยื่นขอฯ จะต้องดำเนินการขอออกใบอนุญาตฯ ภายใน 180 วัน นับจากวันที่สอบภาคปฏิบัติผ่าน และผลการทดสอบความรู้ภาคทฤษฎียังคงมีอายุ หากผู้ยื่นขอฯ ไม่ได้มายื่นขอออกใบอนุญาตฯ ภายในระยะเวลาที่กำหนด จะถือว่าหมดสิทธิ์ในการขอออกใบอนุญาตฯ แต่ผู้ยื่นขอฯ ยังมีความประสงค์จะขอรับใบอนุญาตผู้ประจำหน้าที่อีกครั้ง ผู้ยื่นขอฯ จะต้องยื่นคำร้อง พร้อมเอกสารหลักฐานตามคำร้อง โดยจะต้องเข้ารับการทดสอบภาคทฤษฎี และภาคปฏิบัติใหม่ ตามระเบียบสำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย ว่าด้วยการทดสอบความรู้ภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติด้านการเดินอากาศ พ.ศ.2562 ทั้งนี้ผู้ยื่นขอฯ จะสามารถรับใบอนุญาตผู้ประจำหน้าที่ด้วยตนเอง ภายใน 3 – 5 วันทำการ หลังจากวันที่ชำระค่าธรรมเนียมฯ ซึ่งอัตราค่าธรรมเนียมการออกใบอนุญาต จะจำแนกตามประเภทใบอนุญาต ดังนี้
ประเภทใบอนุญาตผู้ประจำหน้าที่ |
ค่าธรรมเนียมการออกใบอนุญาตผู้ประจำหน้าที่ |
1. นักบินพาณิชย์เอก |
10,000 บาท (ผู้ยื่นขออายุต่ำกว่า 56 ปี) 5,000 บาท (ผู้ยื่นขออายุครบ 56 ปี) |
2. นักบินพาณิชย์ตรี
|
5,000 บาท (ผู้ยื่นขออายุต่ำกว่า 56 ปี) 2,000 บาท (ผู้ยื่นขออายุครบ 56 ปี) |
3. นักบินส่วนบุคคล |
2,000 บาท |
4. นายช่างภาคพื้นดิน |
2,000 บาท |
มกราคม 2564